วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562


แมงมุมพิษทารันทูล่า (Tarantula) 


  พิษทารันทูล่า 

 เป็นแมงมุมที่มีขาและขนสีดำหรือน้ำตาล ขาค่อนข้างยาว ส่วนมากอาศัยอยู่ในพื้นดิน และขุดรูลึกประมาณ 30 เซนติเมตร มักพบได้ที่ภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม พิษของแมงมุมชนิดนี้ไม่รุนแรงต่อมนุษย์ เป็นแมงมุมที่มีเขี้ยวพิษ แต่พิษไม่ร้ายแรงนัก สามารถจับเล่นได้ แต่ควรระวัง ไม่ให้มันตกใจ 

การขยายพันธ์ุ

การเพาะพันธุ์ แมงมุมทารันทูล่า


ตัวผู้และตัวเมีย
       สิ่งแรกที่ต้องทำนั้นก็คือต้องมั่นใจว่าแมงมุมทั้งตัวผู้และตัวเมียของคุณนั้น อยู่ใน Species เดียวกัน, พร้อมที่จะผสม(โตเต็มที่แล้ว) และเพิ่งผ่านการลอกคราบมาได้ไม่นาน. ตัวเมียที่โตเต็มที่นั้นส่วนใหญ่จะลอกคราบเพียงแค่ปีละครั้งเท่านั้น นั่นเป็นสัญญาณที่ดี ที่จะบอกว่าแมงมุมตัวเมียของคุณนั้นโตเต็มที่ และพร้อมที่จะผสมแล้วนะครับ. แต่ถ้าแมงมุมตัวเมียที่จะนำมาผสมนั้นผ่านการลอกคราบมานานแล้ว (ประมาณ 6 เดือนหลังจากลอกคราบครั้งสุดท้าย) ก็มีโอกาสที่เธอจะไม่ผลิตถุงที่เอาไว้ใส่ไข่ได้.
การผสมพันธุ์
      สมควรจะเอาแมงมุมตัวผู้ที่จะทำการผสม ไปทำความคุ้นเคยกับตัวเมียก่อนเสมอ โดยจะต้องไม่มีตัวอิ่นๆ มาวุ่นวาย (งดมือที่ 3) คุณควรจะเอาตัวผู้มาวางไว้ด้านตรงข้ามกับตัวเมีย เพราะคุณคงไม่อยากให้ มันทำอะไรผิดพลาดหรอก ช่ายมะ? (แหมเดททั้งที). ครั้งแรกที่คุณเห็นตัวผู้เข้าไปในกรงของตัวเมีย คุณอาจสังเกตเห็นพฤติกรรมแปลกๆ ของตัวผู้ เพราะมันจะเริ่มที่จะมีอาการกระกระตุกที่บริเวณท้อง และบางครั้งอาจจะเอาขาหน้าและขาเล็กๆ ทุบลงไปที่พื้น และจะเริ่มย่างสามขุมเข้าใกล้ตัวเมียเรื่อยๆ และตัวเมียอาจจะตอบรับด้วยการทุบพื้นกลับ (โอ้ววววว.... ซาดิสม์...) และเมื่อขาของทั้งสองสัมผัสกันเป็นครั้งแรก (เหอะๆ มีลวนลาม) ตัวผู้จะเอาขาถูๆ เคาะๆ ที่ขาของตัวเมีย ไปเรื่อยๆ จนเมื่อตัวเมียมีท่าทางบอกว่า “ยอมแล้ว....!!!” (อย่าทำไรหนูเลยยย) แล้วตัวผู้กจะพยายาม เอาขอเกี่ยวไปเกี่ยวเข้ากับเขี้ยวของตัวเมีย เมื่อเกี่ยวได้สำเร็จ มันจะยกตัวเมียขึ้น (บางครั้งก็น่าทึ่งนะ
เพราะตัวผู้นั้นจะตัวเล็กกว่าตัวเมียมากมาย). แล้วตัวผู้ก็จะเริ่มสอดกระเปาะเข้าไปในช่อง...ทางด้านบน ของตัวเมีย และเริ่มปล่อยน้ำเชื้อ... เอาล่ะ..เตรียมตัวจับแมงมุมตัวผู้ให้ดี (คงรู้นะว่าจะเกิด'ไรขึ้น) ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ใช้เวลาอยู่ในช่วงประมาณ 10 วินาที – 1 ชั่วโมง (ค่อนข้างเร็วนะ ว่ามั๊ย?) 


แมงมุมทารันทูล่า

แมงมุมทารันทูล่า

ข้อมูลเฉพาะตัว

ชื่อวิทยาศาสตร์ :ฺBrachypelma Smithi
วงศ์ :Theraphosidae
ถิ่นกำเนิด :กระจายอยู่ตามทวีป อเมริกา ตั้งแต่ป่าทึบ จนถึงทะเลทรายทางของอเมริกา
การขยายพันธุ์ :วางไข่
อาหาร :แมลง จิ้งหรีด ตั๊กแตน หนู นก สัตว์ขนาดเล็ก


โดยเฉลี่ยประมาณ 6 cm


ลักษณะ


แมงมุมทารันทูล่า ลักษณะโดยทั่วไป ตัวใหญ่ มีขนเส้นเล็กๆ ขึ้นตามตัวและขา ทั่วไปหมด มีทั้งขนสั้นและขนยาว ส่วนสีก็มีหลากหลาย ซึ่งก็จะแตกต่างกันไป แล้วแต่สายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น Mexican Red-Knee (Brachypelma Smithi) "เจ้าเข่าแดง" (ในรูป) หรือ Chilean Rose หรือ Pink Toed หรือ Indian Black and White ล้วนแล้วแต่เป็นที่นิยม ขนาดตัวโตเต็มวัย เมื่อวัดความยาวจากปลายหัวถึงก้น จะยาวประมาณ 6-7 cm ซึ่งสนนราคาก็อยู่ที่ราวๆ 1,500 บาทขึ้นไป แล้วแต่ฤดูกาล วิธีเลี้ยงควรใส่น้ำในภาชนะสะอาดตื้นๆ เช่น ถาด หรือ ใส่สำลีสะอาดๆ ชุ่มน้ำลงในภาชนะนั้นซักก้อนนึ่ง เพื่อให้แมงมุมได้ดูดกิน และสร้างความชื้น ซึ่งความชื้นจะมีผลต่อการ ลอกคราบของแมงมุมด้วย อาหารทารันทูล่า คือแมลง หนู เป็นแมงมุมที่มีเขี้ยวพิษ แต่พิษไม่ร้ายแรงนัก สามารถจับเล่นได้ แต่ควรระวัง ไม่ให้มันตกใจ 





การแบ่งประเภท


ทารันทูล่า แบ่งออกได้เป็น 2 จำพวกใหญ่ ๆ ตามประเภทของการอยู่อาศัย คือ อาศัยอยู่บนต้นไม้ กับขุดรูอาศัยอยู่ในดิน ประเภทที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้จะสร้างใยอย่างหนาแน่น หรืออาศัยอยู่ตามโพรงหรือซอกหลืบของต้นไม้ หรือแม้กระทั่งสร้างใยไว้ระหว่างกิ่งไม้ รูปร่างลักษณะของทารันทูล่าประเภทนี้จะแตกต่างจากทารันทูล่าที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน คือ มีลำตัวไม่ใหญ่หรืออ้วนเทอะทะมากนัก แต่จะมีรูปร่างเพรียวยาว มีขาที่ยาว และปลายขาจะมีแบนใหญ่กว่า เพราะต้องการพื้นผิวสัมผัสที่มากกว่าเพื่อประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหว ซึ่งทาทันทูล่าที่อาศัยบนต้นไม้จะมีการเคลื่อนที่ที่ว่องไวปราดเปรียวกว่า

ที่อยู่อาศัย


        ส่วนประเภทที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน จะขุดดินเป็นรูลึกประมาณ 30-45 เซนติเมตร หรือเสาะแสวงหาโพรง ภายในรูมีใยฉาบอยู่โดยรอบ เพื่อป้องกันดินรอบ ๆ พังทลายลงมา ซึ่งใยรอบ ๆ ปากรูนี้จะไม่มีความเหนียวหรือเหมาะแก่การจับเหยื่อเลย แต่มีไว้เพื่อป้องกันการพังทลายของรูมากกว่า และช่วยป้องกันมิให้มีสัตว์หรือสิ่งใด ๆ มารบกวน ภายนอกของรูก็มักมีใยอยู่บริเวณรอบ ๆ ด้วย บางชนิดจะสร้างใยจนล้นออกมานอกบริเวณปากรู และปากรูมักจะสะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ หากใยขาดก็จะซ่อมแซมใหม่ทันที โดยปกติแล้ว ทารันทูล่าเป็นแมงมุมที่รักความสะอาด หากมีเศษชิ้นส่วนต่าง ๆ ตกลงไปในรู หรือเศษอาหารที่กินเหลือ ก็จะคาบมาทิ้งไว้ข้างนอกทันที


ชนิด


ปัจจุบัน มีการค้นพบทารันทูล่าแล้วกว่า 900 ชนิด และก็ยังมีชนิดที่ค้นพบใหม่อยู่เรื่อย ๆ สำหรับในประเทศไทยก็มีทารันทูล่าอาศัยอยู่ประมาณ 4 ชนิด คือ

  • บึ้งดำ (Haplopelma minax) จัดเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีขนาดใหญ่ที่สุด มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าว
  • บึ้งสีน้ำเงิน (H. lividum) มีขนาดย่อมลงมา มีสีน้ำเงินเข้มตลอดทั้งตัว มีสีสันสวยงาม มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าวเช่นเดียวกัน
  • บึ้งลาย หรือ บึ้งม้าลาย (H. albostriatum) เป็นชนิดที่พบได้น้อยที่สุด มีลวดลายตามขาอันเป็นที่มาของชื่อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว แต่น้อยกว่า 2 ชนิดแรก
  • บึ้งสีน้ำตาล (Chilobrachys huahini) มีสีน้ำตาลอมแดง มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าว เช่นเดียวกัน และยังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้มีการค้นพบหรือระบุชื่อทางวิทยาศาสตร์












แมงมุมพิษทารันทูล่า (Tarantula)     พิษทารันทูล่า    เป็นแมงมุมที่มีขาและขนสีดำหรือน้ำตาล ขาค่อนข้างยาว ส่วนมากอาศัยอยู่ในพื้นด...